วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำสั่งเบื้องต้นของภาษา C
1. คำสั่ง scanf() เป็นฟังก์ชันที่รับค่าจากอุปกรณ์นำเข้ามาตรฐาน และนำค่า
ที่ได้เก็บไว้ในตัวแปรในโปรแกรม
รูปแบบคำสั่ง


เมื่อโปรแกรมทำงานถึงฟังก์ชันนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อมูล โดยข้อมูลที่ป้อนจะ
แสดงบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จกด Enter ข้อมูลทั้งหมดจะเก็บในตัว
แปร var ชนิดของข้อมูลที่กำหนดให้กับตัวแปร var จะถูกกำหนดโดยตัว
กำหนดชนิดข้อมูลซึ่งระบุในส่วนของ format code ตัวกำหนดชนิดข้อมูล
ของฟังก์ชัน scanf() จะเหมือนกับของฟังก์ชันprintf() ฟังก์ชัน scanf()
จะทำให้เคอร์เซอร์ ขึ้นบรรทัดใหม่หลังจากกด Enter
ตัวอย่าง
#include "stdio.h"
#include "conio.h"
void main()
{ int a,b,c; clrscr();
printf("Enter three integer numbers : ");
scanf("%d%d%d",&a,&b,&c);
printf("a = %d b = %d c = %d \n",a,b,c);
}

เป็นการป้อนเลขจำนวนเต็ม 3 ตัวให้กับตัวแปร a,b และ c ในการป้อนตัวเลข

ให้เว้น ช่องว่างระหว่างตัวเลข แต่ละชุดซึ่ง scanf() จะข้อมช่องว่างไปจน
กระทั่งพบตัวเลขจึงจะอ่านข้อมูลอีกครั้ง


2. ฟังก์ชั่น printf() เป็นฟังก์ชั่นใช้ พิมพ์ค่าข้อมูลไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์
รูปแบบคำสั่ง

control string อาจจะเป็นตัวอักษร ข้อความหรือตัวกำหนดชนิดข้อมูล
(specifier) ซึ่งใช้กำหนดชนิดข้อมูลที่จะพิมพ์ ตัวกำหนดชนิดข้อมูล
ตัวกำหนดชนิดข้อมูล
%c แทนตัวอักษร
%d แทนเลขจำนวนเต็ม
%e แทนเลขในรูปเอกซ์โพเนนเชียล (exponential form)
%f แทนเลขทศนิยม
%0 แทนเลขฐานแปด
%s แทนสตริงก์
%u แทนเลขจำนวนเต็มไม่คิดเครื่องหมาย
%x แทนเลขฐานสิบหก
%p แทนข้อมูลแบบพอยน์เตอร์ (pointer)
%% แทนเครื่องหมาย %

สามารถดัดแปลงเพื่อใช้เป็นตัวกำหนดชนิดข้อมูลอื่นๆได้โดย โมดิฟายเออร์
(modifier) l,h และL โมดิฟายเออร์ l จะสามารถใช้กับตัวกำหนดชนิด
ข้อมูล %d, %o , %u และ %x เพื่อใช้กับข้อมูลชนิดยาวเช่น %ld หมาย
ถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนเต็มยาวโมดิฟายเออร์ h จะใช้ในลักษณะเดียวกันกับ
ข้อมูลชนิดสั้น เช่น %hd หมายถึง ข้อมูลชนิดเลขจำนวนเต็มสั้น
สำหรับข้อมูลชนิดทศนิยมจะมีโมดิฟายเออร์ l และ L โดย l จะหมายถึงข้อมูล
ชนิดเลขจำนวนจริงละเอียด
2 เท่า ส่วน L จะหมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวน
จริงรายละเอียด2
เท่า เช่น %lf หมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนจริงละเอียด
2 เท่า
ตัวอย่าง
#include
#include
void main(void)
{
int n;clrscr();
n=100;
printf("Number = %d",n);
getch();
}


3. ฟังก์ชัน getchar() ฟังก์ชัน getchar() ใช้สำหรับป้อนตัวอักษรผ่าน
ทางแป้นพิมพ์โดยจะรับตัวอักษรเพียง
1 ตัวเท่านั้น และแสดงตัวอักษรบนจอ
ภาพ
รูปแบบคำสั่ง


เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนตัวอักษร 1 ตัว หลังจากนั้น
กด
Enter ตัวอักษรที่ป้อนจะถูกเก็บไว้ในตัวแปch ซึ่งเป็นชนิดตัวอักษรและ
เคอร์เซอร์จะขึ้นบรรทัดใหม่ ฟังก์ชัน
getchar() กำหนดในไฟล์ stdio.h
เช่นเดียวกับฟังก์ชัน scanf()
ตัวอย่าง
#include
void main()
{
char ch;
printf("Type one character ");
ch = getchar();
printf("The character you type is %c \n",ch);
printf("The character you typed is ");
putchar(ch);
}
การใช้ฟังก์ชัน putchar() แทน printf() จะพิมพ์ตัวอักษร 1 ตัว และ
เคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่

4. คำสั่ง
getche(); และ getch();
คำสั่ง getche(); จะรับตัวอักษร 1 ตัวที่ป้อนทางแป้นพิมพ์
รูปแบบคำสั่ง
getche();
ความหมาย
ch หมายถึง ตัวแปรชนิดตัวอักษร
แสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จไม่ต้องกด Enter และเคอร์เซอร์
จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ ฟังก์ชัน
getch() จะคล้ายกับฟังก์ชัน getche() ต่าง
กันตรงที่จะไม่แสดงตัวอักษรขณะป้อนข้อมูล ฟังก์ชัน getche() และ getch()
กำหนดในไฟล์ conio.h ดังนั้นจะต้องระบุไฟล์ดังกล่าวในโปรแกรม
ตัวอย่าง คำสั่ง getche();
#include "stdio.h"
#include "conio.h"
void main(void)
{
char answer;clrscr();
printf("Enter A Character : ");
answer=getche();
printf("\n");
printf("A Character is : %c\n",answer);
getch();
}
คำสั่งgetch(); คือฟังก์ชันที่ใช้สำหรับรับข้อมูลชนิดตัวอักษร ผ่านแป้นพิมพ์
1 ตัวอักษร
รูปแบบคำสั่ง getch();
จะไม่แสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนตัวอักษรเสร็จแล้ว ไม่ต้องกด Enter
และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ และเป็นฟังก์ชันที่กำหนดอยู่ในไฟล์
conio.h รูปแบบคำสั่ง ความหมาย
ตัวอย่าง คำสั่ง getch();
#include
#include
void main(void)
{
char answer;
clrscr();
printf("Enter A Character : ");
answer=getch();
printf("\n");
printf("A Character is : ");
putchar(answer);
getch();
}
5. ฟังก์ชัน gets() ฟังก์ชัน gets() ใช้สำหรับข้อมูลชนิดสตริงก์หรือข้อ
ความซึ่งป้อนทางแป้นพิมพ์
รูปแบบคำสั่ง
เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อความ เมื่อป้อนเสร็จแล้ว
กด Enter ข้อความ ทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในอาร์เรย์สตริงก์ str โดย
carriage return (จากการกด Enter) จะแทนด้วยสตริงก์ศูนย์ ฟังก์ชัน
gets() จะทำให้เคอร์เซอร์ขึ้นบรรทัดใหม่ หลังจากกด Enter กำหนดใน
ไฟล์ stdio.h
ตัวอย่าง
#include”stdio.h”
main()
{
char message[50];
printf(“ Enter a message(less than 49 characters)\n”);
gets(message);
printf(“ The message you entered is %s\n”,message);
}

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำสั่งเบื้องต้นของภาษาC
1. ฟังก์ชัน getchar() และ getch()
รูปแบบ ch = getchar(); ch = getch();
ฟังก์ชัน getche() จะรับตัวอักษร 1 ตัวที่ป้อนทางแป้นพิมพ์ และจะแสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จไม่ต้องกด Enter และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ ฟังก์ชัน getch() จะคล้ายกับฟังก์ชัน getchar() ต่างกันตรงที่จะไม่แสดงตัวอักษรขณะป้อนข้อมูล ฟังก์ชัน getchar() และ getch() กำหนดในไฟล์ conio.h ดังนั้นจะต้องระบุไฟล์ดังกล่าวในโปรแกรม แป้นพิมพ์ และจะแสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จไม่ต้องกด Enter และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่
2. ฟังก์ชัน gets
รูปแบบ gets(str);
ฟังก์ชัน gets() ใช้สำหรับข้อมูลชนิดสตริงก์หรือข้อความซึ่งป้อนทางแป้นพิมพ์
3. ฟังก์ชัน scanf()
รูปแบบ scanf("format code", & var);
โปรแกรมทำงานถึงฟังก์ชันนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อมูล โดยข้อมูลที่ป้อนจะแสดงบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จกด Enter ข้อมูลทั้งหมดจะเก็บในตัวแปร var ชนิดของข้อมูลที่กำหนดให้กับตัวแปร var จะถูกกำหนดโดยตัวกำหนดชนิดข้อมูลซึ่งระบุในส่วนของ format code ตัวกำหนดชนิดข้อมูลของฟังก์ชัน scanf() จะเหมือนกับของฟังก์ชันprintf()
ฟังก์ชัน scanf() จะทำให้เคอร์เซอร์ ขึ้นบรรทัดใหม่หลังจากกด Enter
4.ฟังก์ชัน int
รูปแบบ int number 1;
ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็มฐานสิบ
5.ฟังก์ชัน clrscr()
รูปแบบ clrscr();
ใช้ล้างหน้าจอ
ประวัติความเป็นมาของภาษา c
ภาษา c คิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกโดย
เดนนิส ริทชี่[Dennis Ritchie] ที่ห้องแล็บเบล [Bell Labs]
ในปี ค.ศ.1972 โดยได้แนวคิดมาจากภาษา BCPL
พัฒนาขึ้นโดย มาร์ติน ริชาร์ด[Martin Richards]
และภาษา B ที่เขียนขึ้นโดย เคน ทอมพ์สัน[Ken Thompson]
พื่อนำมาพัฒนาต่อจนได้ภาษาใหม่ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูง
หลังจากนั้นในปี ค.ศ.1978 ภาษา c
จึงได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นทางการโดย เคอร์นิกแฮน[Kernighan] และเดนนิส ริทชี่

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัว

น.ส.สุจิรัฐ นามสกุล สิงห์จันทร์
ชื่อเล่น กุ๊กกิ๊ก (กิ๊ก)
ศึกษาอยู่ วิทยาลัยเทคราชบุรี ปวช 2/3
แผนกวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
E-mail kukkik_sujirat1124@thaimail.com